วิสัยทัศน์
คนไทยทุกช่วงวัยได้รับโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีทักษะ ที่จำเป็นและสมรรถนะที่สอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมบนรากฐาน ของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ สอดคล้อง กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อยกระดับการศึกษา และพัฒนาสมรรถนะ ทักษะการเรียนรู้ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ให้พร้อมรับ การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม ก้าวสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างยั่งยืน บทสรุปผู้บริหาร
2. พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา การวัดและประเมินผลในทุกรูปแบบให้มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และบริบทในปัจจุบัน
3. ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา และนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อเพิ่มช่องทาง และโอกาสการเรียนรู้ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดและให้บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง
4. ส่งเสริมสนับสนุน แสวงหา และประสานความร่วมมือเชิงรุกกับภาคีเครือข่าย ให้เข้ามา มีส่วนร่วมในการสนับสนุนและจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในรูปแบบต่าง ๆให้กับประชาชน
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีเอกภาพ เพื่อการบริหารราชการที่ดี บนหลักของธรรมาภิบาล มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
6. ยกระดับการบริหารและการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ คุณธรรม และจริยธรรมที่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
เป้าประสงค์
1. ประชาชนผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษารวมทั้งประชาชนทั่วไปได้รับโอกาส ทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษา ตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เป็นไปตามบริบท สภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละ กลุ่มเป้าหมาย
2. ประชาชนได้รับการยกระดับการศึกษา สร้างเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หน้าที่ ความเป็นพลเมืองที่ดีภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่สอดคล้องกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม
3. ประชาชนได้รับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองผ่านแหล่งเรียนรู้ ช่องทางการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งมีเจตคติทางสังคม การเมือง วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถคิด วิเคราะห์ แยกแยะอย่างมีเหตุผล และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์
4. หน่วยงานและสถานศึกษา กศน. มีหลักสูตร สื่อ นวัตกรรม ช่องทางการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้ ในรูปแบบที่หลากหลาย ทันสมัย และรองรับกับสภาวะการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความต้องการของประชาชนและชุมชน รวมทั้งตอบสนองกับ การเปลี่ยนแปลงบริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
5. หน่วยงานและสถานศึกษา กศน. สามารถนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัล มาพัฒนาเพื่อเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ และนำมาใช้ในการยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรู้และโอกาสการเรียนรู้ ให้กับประชาชน
6. ชุมชนและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน
7. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการองค์กรที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 8. บุคลากร กศน. ทุกประเภททุกระดับได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มทักษะและสมรรถนะ ในการปฏิบัติงานและการให้บริการทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมถึงการปฏิบัติงาน ตามสายงานอย่างมีประสิทธิภาพ